เงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนฉุกเฉินนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติทั้งภัยธรรมชาติ ภัยตามฤดูกาล อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และภัยที่เป็นอันตรายกับสุขภาพที่คาด การณ์ไม่ได้ เช่น โรคโควิด-19 ในกรณีที่ภาครัฐไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั่วถึง ทันที และครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด ทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ซึ่งประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้พิการ เด็ก ผู้ไร้ที่พึ่ง รวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ประชาชน รวมถึงเมื่อเงินช่วยเหลือด้านภัยพิบัติของ สภากาชาดไทยที่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 76 จังหวัด รวมถึง กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ในประเทศไทยเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติ ตามฤดูกาลเป็นประจำทุกปี ซึ่งทวีความรุนแรง ขยายพื้นที่และมีระยะเวลาของการเกิดภัยยาวนานขึ้น อาทิ น้ำท่วมภาคใต้ น้ำท่วมภาคอีสาน หรือน้ำท่วมพื้นที่ภาค กลาง ซึ่งภารกิจของสภากาชาดไทยด้านการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย เริ่มขึ้นตั้งแต่เกิดภัย ระหว่างภัย และการฟื้นฟู หลังเกิดภัยพิบัติ โดยปฏิบัติงานร่วมกับเหล่ากาชาด 76 จังหวัด กิ่งกาชาดอำเภอ สถานีกาชาด 14 แห่ง และเครือข่าย การช่วยเหลือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อสม. เป็นต้น จึงทำให้เงินงบประมาณที่รับมา ไม่เพียงพอต่อการ ช่วยเหลือ ผนวกกับไม่มีเงินสำรองด้านการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย จึงเห็นถึงความจำเป็น ในการจัดตั้ง“เงินทุนฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย” เพื่อใช้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที มุ่งเน้นผู้ เปราะบาง ผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จึงตั้งเป้าหมายของเงินทุนตั้งต้นไว้ที่ 500 ล้านบาท สามารถเบิกใช้จ่ายได้ทันที เมื่อเกิดภัยฉุกเฉินหรือเงินงบประมาณด้าน ภัยพิบัติไม่เพียงพอ แต่ทั้งนี้สภากาชาดไทยก็ยังจำเป็นที่จะต้องระดมทุน เข้าเงินทุนดังกล่าว อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีเงินพร้อมสำหรับการช่วยเหลือและเพียงพออยู่เสมอ โดยมีหน่วยบรรเทาทุกข์ / Assessment Team (Rapid Action Team) ที่ประกอบด้วยเครื่องอุปโภค-บริโภคสำหรับดำรงชีพแบบเร่งด่วนแก่ ผู้ประสบภัยพร้อมยา เวชภัณฑ์ที่จำเป็น การมอบชุดธารน้ำใจช่วยเหลือประสบภัย การจัดครัวเคลื่อนที่สภากาชาดไทย การผลิตน้ำดื่มให้กับผู้ประสบภัยการส่งเสริมสุขอนามัย (WATSAN) ให้บริการรถสื่อสารฉุกเฉิน ให้บริการเรือท้องแบน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่หน่วยให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (DMERT) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน บรรเทา ทุกข์และการฟื้นฟูเมื่อเกิดภัยพิบัติที่ครอบคลุม ทั้งภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามฤดูกาลและโรคอุบัติใหม่ที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่ไม่อาจคาดการณ์ได้